Back to Top

ประวัติเทศบาล

ดวงตราประจำเทศบาลตำบลโนนดินแดง

ดวงตราประจำเทศบาลตำบลโนนดินแดง

ดวงตราประจำเทศบาลตำบลโนนดินแดงโดยมีดวงตราประจำเทศบาลเป็นรูปอนุสาวรีย์เราสู้

เทศบาลตำบลโนนดินแดง

ตั้งอยู่ในพื้นที่บางส่วนของตำบลโนนดินแดงและตำบลส้มป่อย เดิมเป็นสุขาภิบาลโนนดินแดง ได้รับการยกฐานเป็นเทศบาลเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2542 มีเนื้อที่ทั้งหมด 15 ตารางกิโลเมตร ซึ่งมีที่ทำการตั้งอยู่เลขที่ 299 หมู่ 5 ถนนราชดำเนิน ตำบลโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีดวงตราประจำเทศบาลเป็นรูปอนุสาวรีย์เราสู้

เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2514-2516 ได้มีประชาชนจากอำเภอและจังหวัดใกล้เคียงอพยพมาบุกเบิกที่ดินทำกินประมาณ 400-500 ครอบครัว ในปี พ.ศ. 2518 ได้มีการต่อสู้ด้วยอาวุธที่มีความรุนแรง โดยเฉพาะระหว่างการก่อสร้างถนนสายอำเภอละหานทราย-ตาพระยา ต่อมาในปี พ.ศ. 2519 ทางราชการได้ประกาศจัดตั้งเป็นหมู่บ้านโนนดินแดงขึ้นอยู่กับอำเภอละหานทราย และในปี พ.ศ. 2520 ทางราชการได้เริ่มจัดสรรที่ดินทำกินให้กับประชาชน

จากปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนเกี่ยวกับสถานการณ์การก่อการร้ายของฝ่ายคอมมิวนิสต์ในพื้นที่ ทำให้ประชาชนเกิดปัญหาความอดอยาก ความทุกข์ยาก เกิดความระส่ำระสายทั่วพื้นที่ ความได้ทรงทราบถึงองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทรงห่วงใยในความเดือดร้อนของพสกนิกร ทรงแนะนำวิธีการพัฒนาแนวใหม่ เป็นโครงการพัฒนาเบ็ดเสร็จผสมผสานสมบูรณ์แบบ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ทุกส่วนราชการระดมทรัพยากร ผนึกกำลังปฏิบัติงานในพื้นที่ภายใต้นโยบายเดียวกัน เพื่อให้การช่วยเหลือประชาชนผู้ได้รับผลกระทบประสบภัย

อาณาเขต

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลส้มป่อย
  • ทิศใต้ ติดต่อกับเขตรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลลำนางรอง
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนดินแดง
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนดินแดง

วิสัยทัศน์

โนนดินแดงเมืองสะอาดน่าอยู่ คู่สุขภาพดีถ้วนหน้า การศึกษาก้าวไกล ใส่ใจสิ่งแวดล้อม เพียบพร้อมวัฒนธรรม น้อมนำเศรษฐกิจพอเพียง

พันธกิจ

  • การรักษาความสะอาดของถนน หรือทางเดินและที่สาธารณะรวมทั้งการกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล ให้กิดความสะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อย มีการสร้างถนนทางเดินทางระบายน้ำรวมทั้งสาธารณูปโภคและสาธารณูปการให้เพียงพอและใช้การได้ดี และมีการปรับปรุงภูมิทัศน์สถานที่ต่างๆ ให้สวยงาม
  • สนับสนุนส่งเสริมชุมชนให้เป็นสังคมที่มีคุณภาพชีวิต เป็นสังคมที่มีคุณธรรม
  • พัฒนาด้านการศึกษาให้มีคุณภาพมากขึ้น หากประชาชนมีการศึกษาที่ดีก็จะทำให้การพัฒนาในด้านต่างๆ ประสบความสำเร็จมากขึ้น
  • การสร้างเสริมสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชนให้มีเสถียรภาพ ทำให้ประชาชนมีความอยู่ดีกินดี
  • ส่งเสริมให้ประชาชนได้นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำรงชีวิต ให้อยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบและคุณธรรมประกอบการวางแผนการตัดสินใจและการกระทำ
  • การบริหารของเทศบาล จะต้องอยู่บนหลักธรรมาภิบาล อันได้แก่ หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบหลักความคุ้มค่า

จุดมุ่งหมายในการพัฒนา

  • ถนนหรือทางเดิน ที่สาธารณะและชุมชน มีความพอเพียง และสะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อย สถานที่ต่างๆ ในเขตเทศบาลได้รับการปรับปรุงภูมิทัศน์ให้สวยงาม
  • เป็นสังคมที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีคุณธรรม
  • พัฒนาด้านการศึกษาให้มีคุณภาพ เพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง
  • พัฒนาด้านเศรษฐกิจชุมชน โดยส่งเสริมให้ประชาชนมีอาชีพและมีการสร้างตลาดเพื่อให้ประชาชนมีที่ในการจำหน่ายสินค้า ทำให้ประชาชนอยู่ดีมีสุข
  • ประชาชนนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำรงชีวิต ทำให้เกิดความสมดุล มั่นคงและยั่งยืน
  • เทศบาลมีการบริหารโดยใช้หลักธรรมาภิบาล โดยคำนึงถึงประโยชน์สุขของประชาชนเป็นหลัก